Skip to main content
Home - smartraveller.gov.au, be informed, be prepared - logo
Smartraveller
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube

Search Smartraveller

Browse destinations

Main navigation

  • Home
  • Before you go
    • The basics
      • Destinations
      • Europe and the Schengen Area
      • Getting a foreign visa
      • Travel insurance
      • CHOICE travel insurance buying guide
    • Who you are
      • Academics
      • Colour, race, ethnicity, or religion
      • Dual nationals
      • Journalists
      • LGBTQIA+
      • Mature and older travellers
      • School leavers
      • Travelling with children
      • Travelling with a disability
      • Travelling with pets
      • Women
    • Activities
      • Adoption
      • Antarctica and the Arctic
      • Backpacking
      • Business
      • Living and working overseas
      • Marriage
      • Retiring overseas
      • Sports and adventure
      • Studying
      • Surrogacy
      • Volunteering
    • Major events
      • Cultural events
        • Travel overseas for Anzac Day
      • Religious events
        • Travel overseas for Ramadan
        • Travel overseas for Hajj
      • Sporting events
        • Rugby League Las Vegas 2025
    • Health
      • Infectious diseases
      • Going overseas for a medical procedure
      • Medical assistance overseas
      • Medication and medical equipment
      • Mental health
      • Organ transplant tourism
      • Pregnancy
      • Reciprocal health care agreements
      • What happens if you die overseas
    • Staying safe
      • Armed conflict
      • Assault
      • Cyber security
      • Earthquakes and tsunamis
      • Kidnapping
      • Natural disasters
      • Partying safely
      • Piracy
      • Protests and civil unrest
      • Scams
      • Severe weather
      • Sexual assault
      • Terrorism
      • Theft and robbery
    • Laws
      • Carrying or using drugs
      • Child sex offences
      • Female genital mutilation
      • Forced marriage
    • Getting around
      • Air travel
      • Boat travel
      • Cruising
      • Public transport
      • Road safety
  • Destinations
    • View all destinations
    • Africa
    • Americas
    • Asia
    • Europe
    • Middle East
    • Pacific
  • While you're away
    • When things go wrong
      • Arrested or jailed
      • Lost property
      • Medical assistance
      • Money problems
      • Someone is missing
      • Someone died
    • Crime overseas
      • Assaulted
      • Robbed or mugged
      • Sexually assaulted
    • Crisis or emergency
      • Earthquake
      • Severe weather
      • Volcanic eruption
      • Bushfire
      • Nuclear incident
    • Australia's biosecurity and border controls
  • Urgent help
  • Our services
    • Consular State of Play
      • Data
      • Case studies
      • Images
      • Videos
      • Audio
      • Historical data
    • Consular Services Charter
      • ميثاق الخدمات القنصلية (Arabic)
      • 领事服务章程 (Chinese Simplified)
      • 領事服務章程 (Chinese Traditional)
      • Panduan Layanan Konsuler (Indonesian)
      • 領事サービス憲章 (Japanese)
      • 영사 서비스 헌장 (Korean)
      • กฎบัตรว่าด้วยบริการต่าง ๆ ของกงสุล (Thai)
      • Quy định về Dịch Vụ Lãnh Sự (Vietnamese)
    • Communities
      • العربية (Arabic)
      • Bahasa Indonesia
      • 中文 简体 (Chinese Simplified)
      • 中文繁體 (Chinese Traditional)
      • 日本語 (Japanese)
      • 한국어 (Korean)
      • ภาษาไทย (Thai)
      • Tiếng Việt (Vietnamese)
      • Filipino community
      • Indian community
    • Crises
    • News and updates
    • Notarial services
      • Documents we can legalise
      • Documents in Australia
      • Documents overseas
      • Certificate of No Impediment
      • Notarial forms
    • Passport services
    • Resources
      • Consular Privacy Collection Statement
    • Subscription
    • Travel advice explained
    • Voting overseas
Breadcrumb
  1. Home
  2. Before you go
  3. The basics
  4. Travel insurance
  5. ประกันการเดินทาง (Thai)

ประกันการเดินทาง (Thai)

Last Updated
Wednesday, 12/06/2024

 

หน้านี้สำหรับชาวออสเตรเลียที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันการเดินทาง

สำรวจหน้าเพจนี้เพื่อเรียนรู้:

  • เหตุผลที่ประกันการเดินทางมีความสำคัญ
  • วิธีเลือกประกันที่เหมาะสม
  • กรณีใดบ้างที่ประกันไม่คุ้มครองคุณ
  • รัฐบาลออสเตรเลียสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง

เหตุผลที่ประกันการเดินทางมีความสำคัญ

การเดินทางไม่เป็นไปตามแผนเสมอไป ประกันที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นพอ ๆ กับหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ คุณจะต้องพึ่งพาบริษัทประกันการเดินทางของคุณเพื่อขอความช่วยเหลือหากเกิดความขัดข้อง พวกเขาสามารถให้ความช่วยเหลือทั้งเรื่องเงินและเรื่องที่นำไปใช้ได้จริง คุณหรือครอบครัวของคุณอาจประสบความยากลำบากทางการเงินหากไม่มีประกันการเดินทาง

ซื้อประกันการเดินทางไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณกำลังเดินทางไปที่ไหน และคุณกำลังทำอะไรอยู่

เรียนรู้เหตุผลที่ประกันการเดินทางมีความสำคัญในประกันการเดินทางของ CHOICE

วิธีเลือกประกันการเดินทางที่เหมาะสม

ไม่ใช่กรมธรรม์ทุกฉบับที่ให้ความคุ้มครองทุกอย่าง อ่าน Product Disclosure Statement (PDS) ทุกครั้งก่อนที่คุณจะซื้อกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารนี้จะบอกคุณว่า:

  • คุณได้รับความคุ้มครองกรณีใดบ้าง (สิ่งที่รวมอยู่ในกรมธรรม์)
  • คุณไม่ได้รับความคุ้มครองกรณีใดบ้าง (สิ่งที่ไม่ได้รวมอยู่ในกรมธรรม์)
  • นิยามของคำศัพท์ต่าง ๆ
  • ขั้นตอนการเคลมประกัน
  • มีความช่วยเหลืออะไรบ้างในกรณีฉุกเฉิน

แนวทางการซื้อประกันการเดินทางของ CHOICE มีคำแนะนำเรื่องวิธีอ่าน PDS และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนที่คุณจะซื้อประกัน

เลือกกรมธรรม์ที่เหมาะกับความต้องการของคุณ

  1. พิจารณาว่าคุณกำลังจะเดินทางไปที่ไหน
  2. ตัดสินใจว่าคุณจะเดินทางนานแค่ไหน
  3. คิดว่าคุณจะทำอะไรที่นั่น
  4. คิดเรื่องอายุและสุขภาพของคุณ
  5. คำนวณว่าข้าวของมีค่าของคุณมีมูลค่าเท่าใด
  6. เลือกดูหลาย ๆ บริษัทและเลือกกรมธรรม์ที่เหมาะกับคุณ

พิจารณาว่าคุณกำลังจะเดินทางไปที่ไหน

กรมธรรม์บางตัวใช้ได้เฉพาะบางประเทศ ในขณะที่กรมธรรม์อื่น ๆ ใช้ได้ทั่วโลก ระดับความคุ้มครองและเบี้ยประกันแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณเดินทางไป บริษัทประกันอาจมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในบางภูมิภาคหรือจุดหมายปลายทางบางแห่งมากกว่าที่อื่น ๆ

  • เลือกกรมธรรม์ที่คุ้มครองคุณสำหรับทุกประเทศที่คุณกำลังจะเดินทางไป รวมถึงประเทศที่หยุดแวะสั้น ๆ และจุดต่อเครื่อง
  • เช็คสถานการณ์ปัจจุบันในที่ที่คุณกำลังจะเดินทางไป อ่านเกี่ยวกับความเสี่ยงในคำแนะนำการเดินทางสำหรับแต่ละจุดหมายปลายทาง ทำความเข้าใจว่าแต่ละระดับคำแนะนำหมายความว่าอย่างไร
  • ดูให้แน่ใจว่าระดับคำแนะนำสำหรับจุดหมายปลายทางของคุณไม่ใช่ ‘Do not travel’ (‘ห้ามเดินทางไป’) เช็คว่ากรมธรรม์ของคุณให้ความคุ้มครองคุณสำหรับการยกเลิกหรือไม่หากคำแนะนำยกระดับขึ้นไปหลังจากที่คุณได้จองไปแล้ว

ตัดสินใจว่าคุณจะเดินทางนานแค่ไหน

โดยปกติบริษัทประกันการเดินทางคิดค่าเบี้ยประกันจากจำนวนวันที่คุณจะเดินทาง

  • คุณอาจต้องการกรมธรรม์ประกันการเดินทางแบบใช้ครั้งเดียวหากคุณวางแผนทริปสั้น ๆ กรมธรรม์เหล่านี้สำหรับทริปที่ระบุจำนวนวัน
  • พิจารณากรมธรรม์รายปีสำหรับหลายทริปหากคุณเดินทางบ่อยหรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะอาจสะดวกกว่าและคุ้มค่ากว่า

กรมธรรม์แบบหลายทริปและจากบัตรเครดิตอาจจำกัดความยาวของแต่ละทริปที่คุณเดินทาง บางกรมธรรม์อนุญาตให้คุณจ่ายเงินเพิ่มสำหรับเพิ่มจำนวนวัน อ่านข้อมูลในเอกสารกรมธรรม์ของคุณให้ละเอียด

เปรียบเทียบรีวิวโดย CHOICE สำหรับกรมธรรม์แบบทริปเดียวและแบบหลายทริปรายปี

คิดว่าคุณจะทำอะไรที่นั่น

บริษัทประกันไม่คุ้มครองกิจกรรมหลายอย่างในกรมธรรม์ขั้นพื้นฐานของพวกเขา แม้แต่กิจกรรมทั่วไปอย่างเช่น การล่องเรือสำราญหรือการเล่นสกี คุณอาจจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณวางแผนที่จะทำได้รับความคุ้มครอง หรือซื้อกรมธรรม์พิเศษโดยเฉพาะ เช็คข้อมูลกรมธรรม์ให้ละเอียด

  • เช็ครายการสิ่งที่กรมธรรม์คุ้มครองและไม่คุ้มครอง
  • เช็คนิยามของพวกเขาสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจถือว่าการเดินบนภูเขาที่มีความสูงบางระดับเทียบเป็นการปีนเขา
  • คุณอาจต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเพิ่มความคุ้มครองสำหรับกิจกรรมของคุณ ซึ่งมักเป็นกรณีสำหรับการเล่นสกี การกระโดดบันจี้จัมพ์ การดำน้ำลึก การปีนเขา หรือการขี่จักรยานยนต์
  • หากคุณวางแผนที่จะขับรถ เช็คว่าคุณได้รับความคุ้มครองหรือสามารถจ่ายเงินเพิ่มได้หรือไม่ อาจถูกกว่าถ้าซื้อความคุ้มครองนี้จากบริษัทประกันการเดินทางของคุณแทนที่จะซื้อกรมธรรม์ของบริษัทเช่ารถ

หากคุณอาศัยอยู่ต่างประเทศระยะยาว บริษัทประกันภัยในออสเตรเลียอาจไม่คุ้มครองคุณ เงื่อนไขวีซ่าของคุณอาจกำหนดให้คุณซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพในประเทศที่คุณอาศัยอยู่ คุณต้องเช็คให้แน่ใจ

คิดเรื่องอายุและสุขภาพของคุณ

ประกันการเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นหากคุณเกิดเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ ความช่วยเหลือทางการแพทย์มักเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดสำหรับชาวออสเตรเลียในต่างประเทศ ประเทศส่วนใหญ่จะไม่ให้การดูแลคุณฟรีหรือช่วยออกค่าใช้จ่ายบางส่วน ปกติแล้วคุณหรือบริษัทประกันของคุณต้องเป็นคนชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน

  • โรงพยาบาลในบางประเทศจะปฏิเสธที่จะรักษาคุณหากคุณไม่ชำระเงินก่อนหรือมอบข้อมูลประกันของคุณให้พวกเขาแม้ว่าคุณอาจเสียชีวิต
  • โรงพยาบาลในประเทศที่มีข้อตกลงการดูแลสุขภาพแบบตอบแทนกันอาจรักษาคุณในกรณีฉุกเฉิน แต่คุณอาจยังต้องชำระค่าใช้จ่ายบางส่วนของคุณ

หากคุณสูงวัยหรือมีโรคประจำตัว

อายุและสุขภาพของคุณจะส่งผลต่อเบี้ยประกันและประเภทกรมธรรม์ที่คุณต้องซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีโรคประจำตัว

  • คุณต้องแจ้งบริษัทประกันของคุณเกี่ยวกับโรคประจำตัวทุกชนิด
  • หากคุณไม่แน่ใจว่าโรคของคุณได้รับความคุ้มครองหรือไม่ สอบถามบริษัทประกันของคุณ
  • บริษัทประกันของคุณอาจขอให้ตรวจสุขภาพ
  • กรมธรรม์ส่วนใหญ่มีขีดจำกัดอายุ ชาวออสเตรเลียสูงวัยมักจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าเพื่อรับความคุ้มครอง

การซื้อประกันอาจทำได้ยากหากคุณมีโรคประจำตัว คุณอาจต้อง

  • หาบริษัทประกันแบบเฉพาะกลุ่ม
  • ซื้อกรมธรรม์ที่คุ้มครองคุณสำหรับสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวของคุณ

หากคุณไม่มีประกันและไม่มีเงินชำระค่ารักษาพยาบาล

คุณจะต้องชำระค่ารักษาพยาบาลเองหากคุณไม่มีประกัน หากคุณไม่สามารถชำระได้คุณอาจต้องขอเงินจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูง หากคุณไม่ชำระค่ารักษาพยาบาลของคุณ คุณอาจ:

  • ถูกจับกุมหรือคุมขังในเรือนจำ
  • ถูกห้ามไม่ให้เดินทางออกจากประเทศนั้นจนกว่าคุณจะชำระเงิน
  • ถูกโรงพยาบาลฟ้องร้องแม้ว่าคุณจะออกจากประเทศนั้นมาแล้วก็ตาม

รัฐบาลออสเตรเลียไม่สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลของคุณได้

คำนวณว่าข้าวของมีค่าของคุณมีมูลค่าเท่าใด

ประกันการเดินทางสามารถครอบคลุมค่าทดแทนสัมภาระและของมีค่าของคุณในกรณีที่สิ่งของเหล่านั้นสูญหาย เสียหาย หรือถูกขโมย

นอกจากนี้บริษัทประกันบางแห่งยังช่วยจัดหาสิ่งของทดแทนให้คุณระหว่างที่คุณกำลังเดินทางหากคุณจำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน

คุณอาจต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อคุ้มครองสิ่งของราคาแพง คิดให้ดีว่าคุณจะเอาอะไรไปบ้าง พิจารณาดูจะต้องใช้เงินเท่าไหร่เพื่อซื้อสิ่งของเหล่านั้นใหม่หากเกิดการสูญหาย ถูกขโมย หรือถูกทำลาย

กรมธรรม์มีความแตกต่างกันไปในเรื่องวิธีให้ความคุ้มครองของมีค่า พวกเขามักจำกัดมูลค่าของสิ่งของแต่ละชนิด การจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มความคุ้มครองสำหรับของมีค่าอาจเป็นเงินหลักร้อยถึงหลักพันดอลลาร์

  • เช็คขีดจำกัดสำหรับสิ่งของแต่ละชนิดในความคุ้มครองสัมภาระของคุณ คุณอาจต้องซื้อประกันเพิ่มเพื่อคุ้มครองของมีค่าของคุณ
  • เช็คค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ค่าเสียหายส่วนแรกในกรมธรรม์จำนวนมากสูงกว่ามูลค่าข้าวของที่คุณจะเอาไปด้วย พิจารณาจ่ายเงินเพิ่มเพื่อลดหรือเพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายนี้
  • หากคุณไม่ได้เอาของราคาแพงไปด้วย คุณอาจประหยัดค่าเบี้ยประกันได้โดยการเลือกกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองสัมภาระน้อยกว่าหรือมีขีดจำกัดมูลค่าสัมภาระต่ำกว่า หรือการเลือกกรมธรรม์พื้นฐานเพื่อคุ้มครองเฉพาะการรักษาพยาบาลเท่านั้น

เช็คข้อมูลกรมธรรม์ใน PDS อย่างละเอียดเสมอ ดูว่าสิ่งของใดบ้างที่บริษัทประกันไม่ให้ความคุ้มครองและสถานการณ์ที่พวกเขาให้ความคุ้มครอง

และดูคำแนะนำของเราเรื่องการป้องกันการลักขโมย

เลือกดูหลาย ๆ บริษัทและเลือกสิ่งที่เหมาะกับคุณที่สุด

มีบริษัทประกันมากมายที่เสนอกรมธรรม์หลากหลายรูปแบบให้คุณเลือก สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกกรมธรรม์ที่คุ้มครองสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณและทริปของคุณ

พยายามต้านความอยากซื้อประกันที่ถูกที่สุดโดยไม่เช็คว่าเหมาะกับความจำเป็นของคุณหรือไม่ ซึ่งรวมถึงประกันการเดินทางฟรีที่มาพร้อมกับบัตรเครดิต พิจารณาความต้องการของคุณโดยเฉพาะและอ่าน PDS กรมธรรม์ที่ไม่ตรงกับความจำเป็นของคุณไม่ใช่กรมธรรม์ที่คุ้มค่า

  • เลือกดูและเปรียบเทียบตัวเลือกของคุณบน Find an Insurer
  • อ่านแนวทางการซื้อประกันการเดินทางของ CHOICE ดูรีวิวต่าง ๆ ของพวกเขา
  • คัดตัวเลือกให้เหลือเพียงกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองที่คุณต้องการ
  • อ่าน PDS ของกรมธรรม์ที่คุณคัดเลือกมาแล้ว คุณจะตกใจเมื่อเห็นสถานการณ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่บางกรมธรรม์ไม่ให้ความคุ้มครอง

เลือกและซื้อกรมธรรม์ที่เหมาะสำหรับคุณ เปิดเผยข้อมูลทุกอย่างโดยไม่ปิดบังเมื่อคุณซื้อกรมธรรม์ของคุณ หากคุณไม่ทำเช่นนั้นกรมธรรม์ของคุณอาจเป็นโมฆะ

ประกันการเดินทางแบบครอบคลุม

กรมธรรม์การเดินทางแบบครอบคลุมให้ความคุ้มครองมาก กรมธรรม์เหล่านี้คุ้มครองกรณีส่วนใหญ่สำหรับคนส่วนมากในสถานการณ์ส่วนใหญ่แต่ไม่ได้คุ้มครองทุกเรื่องสำหรับทุกคน คุณอาจยังคงต้องศึกษาตัวเลือกเสริมของบริษัทประกัน หรือเลือกขีดจำกัดมูลค่าที่สูงขึ้นหากคุณเอาของราคาแพงไปด้วย

บางบริษัทให้ความคุ้มครองมากกว่าในกรมธรรม์มาตรฐานของพวกเขาโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ตัวอย่างเช่น บางกรมธรรม์แบบครอบคลุมให้ความคุ้มครองการเล่นสกีและการดำน้ำลึกในขณะที่กรมธรรม์อื่น ๆ คุณอาจต้องจ่ายเงินเพิ่ม

เปรียบเทียบรีวิวโดย CHOICE สำหรับกรมธรรม์แบบทริปเดียวและแบบหลายทริปรายปี

ประกันการเดินทางพื้นฐาน (ค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น)

ความคุ้มครองพื้นฐานอาจเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในหมู่แบ็คแพ็คเกอร์และนักเดินทางแบบประหยัด โดยทั่วไปประกันนี้เหมาะสำหรับผู้เดินทางที่มีสัมภาระน้อย ไม่มีของมีค่า และต้องการตัวเลือกที่ราคาถูกที่สุด

กรมธรรม์พื้นฐานยังคงให้ความคุ้มครองกรณีฉุกเฉินเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาลของคุณ

โดยปกติกรมธรรม์เหล่านี้ไม่ให้ความคุ้มครองข้าวของของคุณหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการยกเลิกต่าง ๆ หากมีการให้ความคุ้มครอง เงื่อนไขมักมีข้อจำกัดมากกว่าและขีดจำกัดการเคลมต่ำกว่ามาก และมักมีค่าเสียหายส่วนแรก (excess) สูงกว่ากรมธรรม์แบบครอบคลุมมาก

ประกันการเดินทางจากบัตรเครดิต

บัตรเครดิตบางประเภทมาพร้อมกับประกันการเดินทางฟรี ก่อนที่คุณจะใช้ตัวเลือกฟรีนี้โดยอัตโนมัติ คุณต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจ:

  • สิ่งที่ได้รับการคุ้มครอง
  • มูลค่าการคุ้มครอง
  • สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อเปิดใช้ประกันนั้น

ประกันจากบัตรเครดิตแตกต่างจากกรมธรรม์แบบครอบคลุมส่วนใหญ่ ประกันเหล่านี้มักให้ความคุ้มครองสถานการณ์น้อยกว่าและมีขีดจำกัดมูลค่าสิ่งของต่ำกว่า อ่าน PDS ก่อนที่คุณจะใช้ตัวเลือกฟรีนี้ เปรียบเทียบกับกรมธรรม์แบบครอบคลุมเพื่อที่คุณจะได้เข้าใจว่าคุณจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง

อ่านรีวิวประกันการเดินทางจากบัตรเครดิตโดย CHOICE

การเปิดใช้ประกันจากบัตรเครดิต

โดยทั่วไปคุณต้อง ‘เปิดใช้’ กรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจใช้ตัวเลือกฟรีนี้ ยืนยันวิธีเปิดใช้กรมธรรม์กับธนาคารของคุณ อย่าสันนิษฐานเองว่ามีเปิดใช้แล้ว คุณอาจพบว่าคุณไม่มีประกันในยามที่คุณจำเป็นต้องใช้ขณะที่คุณอยู่ต่างประเทศ

การยกเลิกและดีเลย์

แผนการต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับระดับคำแนะนำในคำแนะนำการเดินทางของเรา ประกันการเดินทางสามารถให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการยกเลิกหากคุณจำเป็นต้องยกเลิกแผนของคุณ

ศึกษาว่ากรมธรรม์ของคุณให้ความคุ้มครองใดบ้าง อ่าน PDS ก่อนที่คุณจะซื้อกรมธรรม์ของคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคุ้มครองการยกเลิก ดูคำแนะนำเรื่องประกันการเดินทางของ CHOICE

กรณีที่ประกันไม่ให้ความคุ้มครองคุณ

ความคุ้มครองที่คุณได้รับขึ้นอยู่กับประเภทกรมธรรม์ที่คุณซื้อ แต่โดยปกติแล้วคุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากเกิดปัญหาขณะที่คุณกำลัง:

  • ละเมิดกฎหมาย เช่น ไม่สวมหมวกกันน็อคเมื่ออยู่บนรถจักรยานยนต์
  • อยู่ภายใต้อิทธิพลของแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด แม้แต่ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำก็สามารถทำให้คุณถูกปฏิเสธเคลมได้
  • ทำกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือความคุ้มครอง เช่น หากคุณขาหักจากการเล่นสกีเมื่อกรมธรรม์ของคุณแจ้งไว้อย่างชัดเจนว่าไม่คุ้มครองการเล่นสกี
  • อยู่ในจุดหมายปลายทางที่ 'ห้ามเดินทาง'

นอกจากนี้ประกันแทบจะไม่คุ้มครอง:

  • การลักขโมยสิ่งของที่คุณทิ้งไว้ไม่ดูแล
  • การเคลมที่เกิดจากโรคประจำตัวที่คุณไม่ได้เปิดเผยแต่แรก

รัฐบาลออสเตรเลียสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

รัฐบาลออสเตรเลียถูกจำกัดเรื่องวิธีการและสถานการณ์ที่จะสามารถช่วยเหลือชาวออสเตรเลียในต่างประเทศได้ ทำความเข้าใจว่าเราสามารถและไม่สามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง อ่านกฎบัตรบริการด้านกงสุล

เราไม่สามารถชำระเงินแทนคุณได้

คุณต้องรับผิดชอบสถานการณ์ของคุณเองเมื่อคุณเดินทางซึ่งรวมถึงการเงินของคุณ บริการด้านกงสุลไม่ใช่ ‘แผนสำรอง’ หากเกิดปัญหาและคุณจำเป็นต้องใช้เงิน เราคาดหวังให้ชาวออสเตรเลียทุกคนที่เดินทางไปต่างประเทศซื้อประกันที่เหมาะสมสำหรับทริปของพวกเขา

อ่านเพิ่มเติม

  • อ่านคำแนะนำการเดินทางสำหรับจุดหมายปลายทางที่คุณกำลังจะเดินทางไปและผ่านระหว่างทาง
  • เรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเดินทางก่อนที่คุณจะออกเดินทาง
  • ดูคำแนะนำสำหรับนักเดินทางที่มีความพิการของเราซึ่งรวมถึงการซื้อประกันการเดินทาง
  • ทำความเข้าใจวิธีและกรณีที่เราสามารถให้ความช่วยเหลือ อ่านกฎบัตรบริการด้านกงสุล

และดู

  • อ่านแนวทางการซื้อประกันการเดินทางและรีวิว (CHOICE)
  • ฟรีไม่ได้หมายความว่าคุ้มค่าเสมอไป อ่านรีวิวประกันการเดินทางจากบัตรเครดิต (CHOICE)
  • เปิดดูและเปรียบเทียบตัวเลือกของคุณบน Find an Insurer. (Insurance Council of Australia)

Main navigation

  • The basics
    • Destinations
    • Europe and the Schengen Area
    • Getting a foreign visa
    • Travel insurance
    • CHOICE travel insurance buying guide
  • Who you are
    • Academics
    • Colour, race, ethnicity, or religion
    • Dual nationals
    • Journalists
    • LGBTQIA+
    • Mature and older travellers
    • School leavers
    • Travelling with children
    • Travelling with a disability
    • Travelling with pets
    • Women
  • Activities
    • Adoption
    • Antarctica and the Arctic
    • Backpacking
    • Business
    • Living and working overseas
    • Marriage
    • Retiring overseas
    • Sports and adventure
    • Studying
    • Surrogacy
    • Volunteering
  • Major events
    • Cultural events
      • Travel overseas for Anzac Day
    • Religious events
      • Travel overseas for Ramadan
      • Travel overseas for Hajj
    • Sporting events
      • Rugby League Las Vegas 2025
  • Health
    • Infectious diseases
    • Going overseas for a medical procedure
    • Medical assistance overseas
    • Medication and medical equipment
    • Mental health
    • Organ transplant tourism
    • Pregnancy
    • Reciprocal health care agreements
    • What happens if you die overseas
  • Staying safe
    • Armed conflict
    • Assault
    • Cyber security
    • Earthquakes and tsunamis
    • Kidnapping
    • Natural disasters
    • Partying safely
    • Piracy
    • Protests and civil unrest
    • Scams
    • Severe weather
    • Sexual assault
    • Terrorism
    • Theft and robbery
  • Laws
    • Carrying or using drugs
    • Child sex offences
    • Female genital mutilation
    • Forced marriage
  • Getting around
    • Air travel
    • Boat travel
    • Cruising
    • Public transport
    • Road safety

Emergency consular assistance

The Australian Government provides 24-hour consular emergency assistance.

+61 2 6261 3305 from overseas

1300 555 135 from within Australia

For how we can help you overseas see the Consular Services Charter.

Enquiries and feedback

For non-urgent enquiries, or to provide feedback on consular services that you've recently received, contact us online.

For information on notarial services, email legalisations.australia@dfat.gov.au

To report a vulnerability you’ve identified on this website or to find out more about the department’s Vulnerability Disclosure Policy visit the DFAT website

About us

Smartraveller is provided by the Australian Department of Foreign Affairs and Trade

For more information go to about us.

Information in other languages

Find information in other languages.

 

Follow us

Facebook

Twitter

Instagram

YouTube

RSS

News

Read our latest news.

Resources

View resources for travel industry and media.

Was this information helpful?

Your feedback will help us improve your experience.

Footer

Australian Government logo. Department of Foreign Affairs and Trade
  • Privacy policy
  • Copyright
  • Cookies and analytics
  • Accessibility
  • Disclaimer
  • Legal
  • Sitemap

Main navigation

  • Home
  • Before you go
    • The basics
      • Destinations
      • Europe and the Schengen Area
      • Getting a foreign visa
      • Travel insurance
      • CHOICE travel insurance buying guide
    • Who you are
      • Academics
      • Colour, race, ethnicity, or religion
      • Dual nationals
      • Journalists
      • LGBTQIA+
      • Mature and older travellers
      • School leavers
      • Travelling with children
      • Travelling with a disability
      • Travelling with pets
      • Women
    • Activities
      • Adoption
      • Antarctica and the Arctic
      • Backpacking
      • Business
      • Living and working overseas
      • Marriage
      • Retiring overseas
      • Sports and adventure
      • Studying
      • Surrogacy
      • Volunteering
    • Major events
      • Cultural events
        • Travel overseas for Anzac Day
      • Religious events
        • Travel overseas for Ramadan
        • Travel overseas for Hajj
      • Sporting events
        • Rugby League Las Vegas 2025
    • Health
      • Infectious diseases
      • Going overseas for a medical procedure
      • Medical assistance overseas
      • Medication and medical equipment
      • Mental health
      • Organ transplant tourism
      • Pregnancy
      • Reciprocal health care agreements
      • What happens if you die overseas
    • Staying safe
      • Armed conflict
      • Assault
      • Cyber security
      • Earthquakes and tsunamis
      • Kidnapping
      • Natural disasters
      • Partying safely
      • Piracy
      • Protests and civil unrest
      • Scams
      • Severe weather
      • Sexual assault
      • Terrorism
      • Theft and robbery
    • Laws
      • Carrying or using drugs
      • Child sex offences
      • Female genital mutilation
      • Forced marriage
    • Getting around
      • Air travel
      • Boat travel
      • Cruising
      • Public transport
      • Road safety
  • Destinations
    • View all destinations
    • Africa
    • Americas
    • Asia
    • Europe
    • Middle East
    • Pacific
  • While you're away
    • When things go wrong
      • Arrested or jailed
      • Lost property
      • Medical assistance
      • Money problems
      • Someone is missing
      • Someone died
    • Crime overseas
      • Assaulted
      • Robbed or mugged
      • Sexually assaulted
    • Crisis or emergency
      • Earthquake
      • Severe weather
      • Volcanic eruption
      • Bushfire
      • Nuclear incident
    • Australia's biosecurity and border controls
  • Urgent help
  • Our services
    • Consular State of Play
      • Data
      • Case studies
      • Images
      • Videos
      • Audio
      • Historical data
    • Consular Services Charter
      • ميثاق الخدمات القنصلية (Arabic)
      • 领事服务章程 (Chinese Simplified)
      • 領事服務章程 (Chinese Traditional)
      • Panduan Layanan Konsuler (Indonesian)
      • 領事サービス憲章 (Japanese)
      • 영사 서비스 헌장 (Korean)
      • กฎบัตรว่าด้วยบริการต่าง ๆ ของกงสุล (Thai)
      • Quy định về Dịch Vụ Lãnh Sự (Vietnamese)
    • Communities
      • العربية (Arabic)
      • Bahasa Indonesia
      • 中文 简体 (Chinese Simplified)
      • 中文繁體 (Chinese Traditional)
      • 日本語 (Japanese)
      • 한국어 (Korean)
      • ภาษาไทย (Thai)
      • Tiếng Việt (Vietnamese)
      • Filipino community
      • Indian community
    • Crises
    • News and updates
    • Notarial services
      • Documents we can legalise
      • Documents in Australia
      • Documents overseas
      • Certificate of No Impediment
      • Notarial forms
    • Passport services
    • Resources
      • Consular Privacy Collection Statement
    • Subscription
    • Travel advice explained
    • Voting overseas